องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ : www.klongkham.go.th

 
 

 

 


โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง


โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์
 
1.   ชื่อโครงการ : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม        
                   อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์
 
2.  หลักการและเหตุผล
      มันสำปะหลังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Manihot  esculentus  ชื่อสามัญ  Cassava   เป็นพืชที่สามารถ
เจริญเติบโตได้ดี  แม้แต่ในสภาพดินอุดมสมบูรณ์ต่ำ  และมีฝนตดน้อย  แต่ก็เป็นพืชที่มีการชะล้างพังทลายของดินสูง  เช่นกัน  โดยเฉพาะหากปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชันในดินทรายและมีปริมาณอินทรีย์วัตถุต่ำ  ประกอบกับระยะปลูกที่กว้างและการเจริญเติบโตช้าในช่วง  3  เดือนแรก (พุทธเจริญ  2535)
                      ในสภาพปัจจุบันการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในเรื่องพันธุ์มีอยู่จำนวนมาก  ซึ่งแต่ละพันธุ์จะมีข้อดี  ข้อเสียแตดต่างกัน ซึ่งทราบว่าเกษตรกรจะยอมรับพันธุ์ไหนที่จะเหมาะสมในสภาพท้องถิ่นโดยวิธีการทดสอบแบบเกษตร  มีส่วนร่วม (  Farmer  Participatory  Research  )  FPR  ( วงษ์เกษม  2541 ) 
                        ซึ่งเป็นขบวนการกระตุ้นให้เกษตรกรได้เห็นความสำคัญของการคัดเลือกพันธุ์และการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น  และสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ตัดสินใจ  คัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่น่าจะทำได้ภายในชุมชนตลอดจนการจัดทำแปลงทดสอบด้วยตนเอง  ภายใต้คำแนะนำของนักวิชาการเกษตรซึ่งในที่สุดเกษตรกรจะเป็นผู้คัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด  ด้วยตัวเองเกษตรกรเอง
                        ตำบลคลองขาม  มีเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง  จำนวน  235  ครัวเรือน  โดยมีพื้นที่ปลูก  1,920  ไร่  ผลผลิตเฉลี่ย  3.2  ตันต่อไร่  เนื่องจากดินเป็นดินทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำประกอบกับยังขาดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่  จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการศึกษาพันธุ์มันสำปะหลังที่มีความเหมาะสม  สามารถให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงขึ้น
 
3.  วัตถุประสงค์ของโครงการ
  1. เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเห็นความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
โดยมุ่งเน้น  ให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังด้วยตัวเอง
                       2.   เพื่อขยายผลการยอมรับ  พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมที่เกษตรกรได้คัดเลือกแล้ว
  3.  ผลผลิตมันสำประหลังเพิ่มจาก  3.2  ตัน/ไร่  เป็น  8  ตัน/ไร่
    4. ผลผลิตมันสำประหลังมีคุณภาพเปอร์เซ็นต์แป้งดี
    5.  ลดต้นทุนผลิต  ในการปลูกมันสำประหลังโดยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
    6.  เกษตรกรมีการจัดการเรียนรู้วิธีการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุ
7.  เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
 
 
 4.  เป้าหมายของโครงการ
                       1.  เกษตรกรคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังด้วยตัวของเกษตรกรเอง
                       2.  เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจำนวน  235  ราย
                     3.  เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่  ให้สูงขึ้นได้
                     4.  เกษตรกรได้รับผลตอบแทนมากขึ้น  มีรายได้มากขึ้น  คุณภาพชีวิตดีขึ้น
 
5.  วิธีการดำเนินงาน
        การคัดเลือกหมู่บ้านที่จะดำเนินการ   มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกดังต่อไปนี้
                     1.  เป็นพื้นที่ที่มีมันสำปะหลังเป็นพืชหลัก  และสภาพพื้นที่มีปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและต้องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น
              2.  เกษตรกรมีความสนใจที่จะพัฒนาการผลิตมันสำปะหลัง
 
6.  สถานที่ดำเนินการ
          แปลงเกษตรกร  นายบุญมา  สุนทรภักดิ์  207  หมู่ที่  1  บ้านขาม  ตำบลคลองขาม  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์
 
  7.  ระยะเวลาดำเนินการ 
           วันพฤหัสบดีที่  24  เดือน  เมษายน  พ.ศ. 2557
 
  8.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ 
           -  งานส่งเสริมการเกษตร  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์
        -  ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร  ประจำตำบลคลองขาม
 
 9.  งบประมาณ
                     งบประมาณที่ใช้จ่ายตามโครงการเป็นจำนวนเงิน  30,000  (สามหมื่นบาทถ้วน)  ตาม
เอกสารแนบท้าย
 
10ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.  ผลผลิตมันสำประหลังเพิ่มจาก  3.2  ตัน/ไร่  เป็น  8  ตัน/ไร่
2. ผลผลิตมันสำประหลังมีคุณภาพเปอร์เซ็นต์แป้งดี
3.  ลดต้นทุนผลิต  ในการปลูกมันสำประหลังโดยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
4.  เกษตรกรมีการจัดการเรียนรู้วิธีการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุ
5.  เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน




2024-03-22
2024-01-22
2023-11-15
2023-10-28
2023-09-27
2023-09-20
2023-08-31
2023-08-30
2023-08-29
2023-08-28